วันนี้เฮียโยจะมาแนะนำการเลือกขนาดท่อเมนย่อยสุดประหยัด กับการวางระบบเทปน้ำหยด ในพื้นที่แนวราบ ซึ่งเคยทราบหรือไม่ว่า ขนาดของท่อ ก็เป็นสิ่งสำคัญในการลำเลียงน้ำไปจ่ายให้กับท่อต่างๆ หากท่อเล็กเกินไปก็อาจจะทำให้จ่ายน้ำไปไม่ถึงปลายท่อ ความเหมาะสม ความถูกต้องนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชาวเกษตรกร หากทราบจำนวนและขนาด ก็จะทำให้ลดการเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการลองผิดลองถูกได้ แล้วขนาดท่อต่างๆ ที่ต้องใช้ต้องมีขนาดเท่าไหร่ละ ถึงจะเพียงพอ?
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับการเรียกชื่อท่อในตำแหน่งต่างๆกันก่อน
-ท่อเมน หรือท่อหลักเป็นท่อที่ใช้ลำเลียงน้ำจากปั๊มไปยังท่อเมนย่อยต่างๆ
-ท่อเมนย่อย จะลำเลียงน้ำไปยังท่อย่อยเพื่อปล่อยน้ำให้กับหัวจ่ายน้ำอีกที
-ท่อย่อยคือ ท่อจ่ายน้ำให้แก่สปริงเกอร์หรือหัวจ่ายน้ำไปยังต้นพืชที่เราต้องการรดน้ำ
ท่อย่อย ของระบบน้ำนี้ คือเทปน้ำหยด ที่มีระยะหยดแตกต่างกัน การเลือกระยะหยดนั้นให้เลือกตามชนิดของดิน
- ดินทราย น้ำซึมเร็ว ใช้ระยะ 10 15 ซม.
- ดินร่วน น้ำซึมปานกลาง ใช้ระยะ 20 25 30 ซม.
- ดินเหนียว น้ำซึมช้า ใช้ระยะ 50 ซม. ขึ้นไป
การเลือกใช้เทปน้ำหยดที่ดี พื้นที่เปียกบนพื้นดินควรมีวงกว้างที่เปียกเชื่อมต่อกัน
ดังภาพต่อไปนี้
พืชที่อยู่ใกล้ปั๊มน้ำมากที่สุดจะได้รับน้ำที่มากกว่าพืชที่อยู่ไกลที่สุด ซึ่งพืชสามารถได้รับน้ำในปริมาณที่แตกต่างกันได้ถึง 10% ที่พืชจะเจริญเติบโตได้
เทปน้ำหยด ของเฮียนั้นมีอัตราการจ่ายน้ำอยู่ที่ 2.7 ลิตร/รู/ชั่วโมง ในกรณีเลือกเทปน้ำหยดที่มีระยะหยด 20 ซม. ในพื้นที่ 1 ไร่ สมมติให้พื้นที่มีความกว้าง 16 เมตร ยาว 100 เมตร และวางเทปน้ำหยดในระยะห่างระหว่างแถว แถวละ 1 เมตร จะได้ เทปน้ำหยด ทั้งหมด 16 เส้น เส้นละ 100 เมตร
แต่เมื่อนำท่อเมนย่อยมาวางไว้ที่ต้นแถวแล้วนั้น จะทำให้จ่ายน้ำได้ไม่ถึงปลายแถวของเทปน้ำหยด เนื่องจากมีการสูญเสียแรงดันภายในเทป แต่ถ้าหากเรานำท่อเมนย่อยมาวางไว้กลางแปลงหรือเรียกว่า “การวางท่อแบบก้างปลา”
จะช่วยให้จ่ายน้ำไปถึงปลายแถวได้ เพราะหากเทปยิ่งสั้นจะยิ่งช่วยเฉลี่ยการสูญเสียแรงดันน้ำภายในเทป และถ้าหากเราแบ่งพื้นที่ให้น้ำมีขนาดเล็กลงไปอีกนั้น จะทำให้สามารถใช้ท่อที่มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมได้ โดยจากตารางหากเราแบ่ง เป็น 2 Zone ก็จะสามารถใช้ท่อเมนย่อย PVC Class5 ขนาด 1 ¼” ได้